![]() |
เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำใน 55 สาขาวิชา
ลอนดอน, 12 มีนาคม 2568 /PRNewswire/ — ผู้เชี่ยวชาญด้านการอุดมศึกษา QS Quacquarelli Symonds เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกตามสาขาวิชา QS World University Rankings by Subject ครั้งที่ 15 โดยเปรียบเทียบหลักสูตรวิชาการกว่า 21,000 รายการ ซึ่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกว่า 1,700 แห่ง ใน 100 ประเทศและดินแดน ศึกษาใน 55 สาขาวิชา และ 5 กลุ่มคณะสาขาวิชาหลัก
รองประธานอาวุโสของ QS คุณ Ben Sowter กล่าวว่า "ท่ามกลางความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในด้านงบประมาณในระบบอุดมศึกษาที่อิ่มตัว การสนับสนุนภาคการอุดมศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางสังคม การจัดอันดับสาขาวิชาครั้งใหญ่ที่สุดของเรานี้เผยให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในเอเชียและตะวันออกกลาง กำลังเติบโตขึ้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดาเผชิญกับแรงกดดันทางการเงินที่เพิ่มขึ้น"
การวิเคราะห์เผยให้เห็นพัฒนาการในสาขาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมีผู้เข้าสู่รายชื่อใหม่ 34 รายใน 100 อันดับแรกของสาขาวิทยาการข้อมูลและ AI อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลง 45 อันดับใน 50 อันดับแรกของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และจีนมีสถาบันที่ติด 10 อันดับแรกในกลุ่มคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีประเทศและดินแดนใหม่ 8 แห่งปรากฏในอันดับ โดยมี 171 สถาบันที่ติดอันดับเป็นครั้งแรก และ 14 มหาวิทยาลัยที่ก้าวขึ้นสู่ 10 อันดับแรกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
ไฮไลท์ระดับโลก
• สหรัฐอเมริกานำด้วย 3,245 รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ และครองอันดับหนึ่งใน 32 จาก 55 สาขาวิชา โดย Harvard เป็นอันดับหนึ่งใน 19 สาขา และ MIT ใน 12 สาขา
• สหราชอาณาจักรมี 1,883 รายชื่อ และครองอันดับหนึ่งใน 18 สาขาวิชา โดยมหาวิทยาลัย Cambridge ได้อันดับหนึ่งใน 4 สาขา และ Oxford 3 สาขา เท่ากันกับ ETH Zurich
• จีนแผ่นดินใหญ่เป็นผู้นำด้านจำนวนผู้ติดอันดับรายใหม่ มหาวิทยาลัย Peking และมหาวิทยาลัย Tsinghua ติด 3 อันดับแรกในสองสาขาวิชาต่อมหาวิทยาลัย ขณะที่ 7 ใน 10 มหาวิทยาลัยที่พัฒนาอันดับขึ้นมากที่สุดในโลกเป็นของจีน
• ในออสเตรเลีย มหาวิทยาลัย Melbourne และ Sydney ติด 100 อันดับแรกของโลกใน 52 จาก 55 สาขา ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดในโลก
• สวิตเซอร์แลนด์ครองอันดับสามของโลกในแง่ของจำนวนสาขาที่ติดอันดับหนึ่ง โดย ETH Zurich เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอันดับหนึ่งมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก
• ฮ่องกงเป็นภูมิภาคที่พัฒนาอันดับมากที่สุด โดย 68% ของ 231 รายชื่อมหาวิทยาลัยในสาขาต่าง ๆ มีอันดับสูงขึ้น ขณะที่ 6% ลดลง และ 15% คงที่
• สิงคโปร์ยังคงโดดเด่น โดย 30% ของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในรายชื่อติด 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดของโลก
• KFUPM ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีอันดับดีที่สุดในภูมิภาคอาหรับ โดยอยู่ในอันดับ 5 ของสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม
• บราซิลเป็นผู้นำในลาตินอเมริกา โดยมี 333 รายชื่อจาก 31 มหาวิทยาลัย นำโดย Universidade de São Paulo ซึ่งอยู่ในอันดับ 9 ของสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม และอันดับ 13 ของสาขาทันตแพทยศาสตร์
• มี 12 รายชื่อจาก 9 สถาบันของอินเดียที่ติด 50 อันดับแรก นำโดยสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ที่ Indian School of Mines University ในเมืองธนพาท ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 20
• มหาวิทยาลัยในแคนาดาโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์และชีววิทยาศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัย Toronto ติด 50 อันดับแรกของโลกใน 46 สาขาวิชา ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดของโลก
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2429773/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600
Source : การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกตามสาขาวิชา QS World University Rankings by Subject ประจำปี 2568
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Siam News Network.